ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ซัดดัม ฮุสเซน

ซัดดัม ฮุสเซน (อังกฤษ: Saddam Hussein) หรือ ศ็อดดาม ฮุเซน อับดุลมะญีด อัลตีกรีตี (อาหรับ: ???? ???? ??? ?????? ????????; ละติน:?add?m ?usayn ?Abd al-Maj?d al-Tikr?t?) (28 เมษายน พ.ศ. 2480-30 ธันวาคม พ.ศ. 2549) เป็นอดีตประธานาธิบดีของอิรัก ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 กระทั่งถูกจับกุมและถอดออกจากตำแหน่ง โดยกองกำลังนานาชาติซึ่งนำโดยสหรัฐอเมริกา ในช่วงสงครามอิรัก

ซัดดัมเคยเป็นผู้นำพรรคบะอัธ พรรคการเมืองหัวปฏิวัติของอิรัก ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มลัทธินิยมรวมชาติอาหรับโดยไม่อ้างอิงกับศาสนา การปรับระบบเศรษฐกิจให้ทันสมัย และระบอบสังคมนิยม ซัดดัม ได้มีบทบาทสำคัญในการก่อรัฐประหารในปี พ.ศ. 2511 ที่ทำให้พรรคบะอัธก้าวขึ้นสู่อำนาจในระยะยาว ในฐานะของรองประธานาธิบดี โดยมีนายพลอะฮ์มัด บะกัร ลูกพี่ลูกน้องของเขาที่มีสุขภาพอ่อนแอดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ซัดดัมจึงได้กุมอำนาจในการจัดการปัญหาข้อพิพาทระหว่างรัฐบาลกับกองทัพ ในช่วงเวลาที่กลุ่มการเมืองต่าง ๆ ถูกมองว่าสามารถโค่นล้มรัฐบาลได้ทุกเมื่อ โดยซัดดัมได้จัดตั้งกองกำลังรักษาความมั่นคง เพื่ออุดหนุนอำนาจของเขาในการควบคุมรัฐบาลอิรักไว้ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 ราคาน้ำมันปิโตรเลียมที่พุ่งสูงขึ้นได้ช่วยให้เศรษฐกิจอิรักเติบโตขึ้นเป็นอย่างมากและในอัตราที่สม่ำเสมอ

ในฐานะประธานาธิบดี ซัดดัมได้พัฒนาลัทธินิยมตัวผู้นำอย่างบ้าคลั่ง ปกครองรัฐบาลเผด็จการ และกุมอำนาจไว้ได้ในช่วงสงครามอิรัก-อิหร่าน (ระหว่างปี พ.ศ. 2523 - 2531) ในช่วงสงครามอ่าวเปอร์เซีย (พ.ศ. 2534) ซึ่งทำให้อิรักทรุดโทรม ทำลายทั้งมาตรฐานการครองชีพและสิทธิมนุษยชน รัฐบาลของซัดดัมได้จัดการกับการเคลื่อนไหวที่มีแนวโน้มเป็นภัยคุกคาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากพวกชนกลุ่มน้อย หรือกลุ่มทางศาสนาที่ต้องการเรียกร้องอิสรภาพ หรือการปกครองตนเอง

ในระหว่างที่ยังคงเป็นวีรบุรุษที่ประชาชนชื่นชม โดดเด่นในหมู่ผู้นำอาหรับอื่นๆ ในฐานะผู้ที่ลุกขึ้นต่อต้านสหรัฐ และให้การสนับสนุนปาเลสไตน์ ภายหลังสงครามอ่าวเปอร์เซีย สหรัฐอเมริกาและชาติอื่นๆ ในประชาคมโลก ยังคงเฝ้าระวังจับตามองซัดดัมด้วยความหวาดระแวงว่ามีอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงไว้ในครอบครอง ซัดดัมได้ถูกถอดถอนโดยสหรัฐและฝ่ายพันธมิตรในการบุกอิรักเมื่อปี พ.ศ. 2546 ถูกจับกุมโดยกองกำลังสหรัฐเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ในขณะที่ซ่อนตัวอยู่ในหลุมขนาดเล็ก ในฟาร์มแห่งหนึ่งชานเมืองติกรีต เขาขึ้นต่อสู้คดีในศาลพิเศษอิรักที่จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาลชั่วคราวของอิรัก

วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ผู้พิพากษาศาลอิรัก สั่งลงโทษประหารชีวิตด้วยการแขวนคอซัดดัม ในคดีสังหารหมู่ชาวชีอะห์ 148 คน ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งในเมืองดูเญลเมื่อปี พ.ศ. 2525 โดยเขาถูกประหารชีวิตในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2549

ซัดดัม ฮุสเซนเกิดที่เมืองเอาญะห์ ห่างจากเมืองตีกรีต 13 กิโลเมตร ในครอบครัวของคนเลี้ยงแกะ แม่ชื่อศุบฮะห์ ตุลฟะห์ ตั้งชื่อให้ว่า "ศ็อดดาม" ซึ่งแปลว่า "ชนแหลก" ในภาษาอาหรับ ฮุเซน อับดุลมาญิด พ่อของซัดดัม หายตัวไปก่อนที่ซัดดัมเกิด 6 เดือน หลังจากนั้นไม่นาน พี่ชายวัยสิบสามขวบของซัดดัมก็เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง แม่ของซัดดัมเศร้าโศกเสียใจเป็นอันมาก และปฏิเสธที่จะเลี้ยงดูซัดดัมเมื่อแรกเกิด ซัดดัมถูกส่งไปอยู่กับค่อยรุลลอห์ ตุลฟะห์ พี่ชายของแม่จนกระทั่งอายุสามปี แม่ของซัดดัมแต่งงานใหม่ และมีลูกอีกสามคน พ่อเลี้ยงของซัดดัมปฏิบัติต่อซัดดัมแย่มากหลังจากที่ซัดดัมกลับไปอยู่ด้วย เมื่อซัดดัมอายุราว 10 ปี เขาก็ย้ายกลับไปอยู่กับลุงอีกครั้ง ค่อยรุลลอห์ ตุลฟะห์ เป็นชาวมุสลิมนิกายสุหนี่ที่เคร่งศาสนา และเคยผ่านสงครามระหว่างอิรักและสหราชอาณาจักรในปีพ.ศ. 2484 บุคคลผู้นี้ภายหลังกลายเป็นที่ปรึกษาที่ใกล้ชิดกับซัดดัมมาก ซัดดัมเข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาในแบกแดดตามคำแนะนำของลุง ซัดดัมเข้าศึกษานิติศาสตร์อยู่สามปี ในปีพ.ศ. 2500 ก่อนจะออกจากวิทยาลัยไปเข้าร่วมพรรคบะอัธซึ่งลุงของเขาสนับสนุน

หนึ่งปีหลังจากซัดดัมเข้าร่วมพรรคบะอัธ กลุ่มทหารซึ่งนำโดยนายพลอับดุลกะรีม กอซีม ได้ยึดอำนาจจากกษัตริย์ฟัยศ็อลที่ 2 พรรคบะอัธต่อต้านรัฐบาลใหม่ ในปีพ.ศ. 2502 ซัดดัมเข้าร่วมในการสังหารนายกรัฐมนตรีกอซีม แต่ไม่สำเร็จ ซัดดัมได้รับบาดเจ็บและหนีไปซ่อนตัวอยู่ในซีเรียและอียิปต์ โดยซัดดัมถูกลงโทษประหารชีวิต

พ.ศ. 2506 กอซิมถูกยึดอำนาจจากการก่อรัฐประหารซึ่งพรรคบะอัธร่วมสนับสนุน อับดุล ซาลัม อาริฟ ขึ้นเป็นประธานาธิบดีและพรรคบะอัธได้ร่วมคณะรัฐมนตรี ในช่วงนี้ซัดดัมแต่งงานกับซาญิดะห์ ตุลฟะห์ ลูกของลุง ต่อมาอารีฟขัดแย้งกับพรรคบะอัธ และขับออกจากรัฐบาล ซัดดัมถูกจับในปีพ.ศ. 2507

พรรคบะอัธขึ้นมามีอำนาจในปีพ.ศ. 2511 หลังจากที่ก่อรัฐประหารยึดอำนาจจากอาริฟ อะฮ์มัด อัลบะกัร ขึ้นเป็นประธานาธิบดี และซัดดัมได้รับตำแหน่งรองประธานาธิบดี ในปี พ.ศ. 2519 ซัดดัมได้รับตำแหน่งนายพลในกองทัพอิรัก ซัดดัมเริ่มมีอิทธิพลในรัฐบาลสูงขึ้นเรื่อยๆ ซัดดัมเป็นผู้วางแผนนโยบาลการต่างประเทศ และเป็นตัวแทนในพิธีทางการทูตต่างๆ หลังจากที่กุมอำนาจอยู่เบื้องหลังมาสิบเอ็ดปี ซัดดัมขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 หลังจากนั้นไม่นาน สมาชิกพรรคบะอัธ 22 คนถูกสั่งประหารชีวิตในข้อหากบฏ

ซัดดัมพัฒนาประเทศให้ทันสมัย โดยมีการให้เสรีภาพสตรีที่เพิ่มขึ้น และให้งานตำแหน่งสูงๆในรัฐบาลและอุตสาหกรรม ซัดดัมยังสร้างระบบกฎหมายแบบตะวันตก ทำให้อิรักเป็นประเทศเดียวในอ่าวเปอร์เซียที่ไม่ได้ปกครองด้วยกฎหมายอิสลาม (ชาเรีย) ซัดดัมสร้างลัทธิชาตินิยมอิรัก บ่อยครั้งที่เขาเอ่ยถึงยุคสมัยอับบาซียุน ซึ่งแบกแดดเป็นศูนย์กลางทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของโลกอาหรับ เขายังเน้นบทบาทของอิรักในยุคก่อนศาสนาอิสลามในฐานะเมโสโปเตเมีย ซึ่งเป็นอารยธรรมเก่าแก่สมัยโบราณ โดยกล่าวโดยอ้อมไปถึงผู้นำสมัยโบราณอย่างพระเจ้านาบูชาเดรซซาที่ 2 และพระเจ้าฮัมบูราบี ซัดดัมทุ่มเททรัพยากรให้กับการค้นคว้าทางโบราณคดี เขายังได้พยายามรวมลัทธิแพนอาหรับกับชาตินิยมอิรัก ด้วยการสนับสนุนภาพของโลกอาหรับที่รวมเป็นหนึ่งเดียวภายใต้การนำของอิรัก ความนิยมตัวผู้นำซัดดัมกระจายทั่วสังคมอิรัก ภาพของซัดดัมปรากฏทั่วไปทั้งบนอาคาร โรงเรียน สนามบิน ร้านค้าต่างๆ เช่นเดียวกับบนเงินตราของอิรัก

วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ซัดดัมและสมาชิกระดับสูงของพรรคบะอัธอีก 11 คน ซึ่งในขณะนั้นอยู่ในความควบคุมของกองทัพสหรัฐฯ ได้ถูกส่งมอบทางอำนาจทางกฎหมายให้กับรัฐบาลชั่วคราวของอิรัก เพื่อนำตัวเข้ารับการไต่สวนในข้อหาก่ออาชญากรรมสงคราม อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ และฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ซัดดัมถูกตั้งข้อหาโดยศาลพิเศษ ในการก่ออาชญากรรมต่อชาวเมืองดูเญล ในปีพ.ศ. 2525 ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากความพยายามสังหารซัดดัมที่เมืองนั้นไม่สำเร็จ ข้อกล่าวหาประกอบไปด้วยการฆาตกรรมคน 148 คน การทรมานผู้หญิงและเด็ก และการจับกุม 399 คนอย่างไม่ถูกกฎหมาย ในวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ซัดดัม ฮุสเซนถูกศาลตัดสินว่ามีความผิด และถูกตัดสินประหารชีวิตโดยแขวนคอ ซัดดัมถูกประหารชีวิตโดยแขวนคอในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2549


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301